ตั้งค่าบล็อก


     
การปรับค่าการใช้งานในรูปแบบต่างๆ ของ Blogger สามารถแก้ไขในเมนู "การตั้งค่า " ไม่ว่าจะเป็นชื่อบล๊อก, Url ของบล๊อก, ภาษาของบล๊อก, การจัดการคลังบทความ ซึ่งมีการใช้งานในส่วนต่างๆ ที่ไม่ได้ยากเย็นนัก เรามาดู การตั้งค่า (Settings) ของ Blogger ว่ามีอะไรบ้าง

  1. การตั้งค่าขั้นต้นของ Blogger(Basic Setting) เป็นการตั้งค่าพื้นฐานต่างๆ เช่น Title ของบล๊อก รายละเอียดบล๊อก การอนุญาตุให้เครื่องมือค้นหาสามารถพบบล๊อกของคุณโดยอัตโนมัติ โหมดการเขียนบล๊อก และอื่นๆ เรามาดูการตั้งค่า "ขั้นต้น" อย่างละเอียดกันเลยค่ะ
    เครื่องมือเขียนบล็อก (Blog Tools)

    • การนำเข้าบล๊อก คือการนำเข้าบทความจากบล๊อกอื่่นของเรา
    • การส่งออกบล๊อก คือการนำบทความของบล๊อกเราส่งออกไปบล๊อกอื่น
    • ลบบล๊อก ก็คือการลบบล๊อกของเราทั้งหมดนั้นเอง
    หัวข้อ (Title)
    เป็นการเปลี่ยนหัวข้อบล๊อกหรือ Title ของบล๊อกเราซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวข้อหลักสำคัญที่่ทำให้รู้ว่าบล๊อกเราเกี่ยวข้องกับอะไร

    คำอธิบาย (Description)
    คำอธิบายเกี่ยวกับบล๊อกของคุณ เช่น "ชุมชนบล๊อกหาเงินออนไลน์โดยใช้ Blogger" จะแสดงอยู่ด้่านล่างของ หัวข้อ (Title)

    เพิ่มบล็อกของคุณในรายการของเราหรือไม่ (Add your blog to our listings?)
    เป็นเครื่องมือของ Blogger ช่วยให้บล๊อกของเราแสดงในรายการต่างๆของ Blogger

    อนุญาตให้เครื่องมือค้นหาพบบล็อกของคุณหรือไม่ (Let search engines find your blog?)
    เป็นการอนุญาติให้ Google Blog Search รับข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาของบล๊อกคุุณและทำการปิงสัญญาณ(บอกให้รู้ว่ามีข้อมูลใหม่) ผ่านทาง Webblog.com

    แสดงการแก้ไขอย่างรวดเร็วบนบล็อกของคุณหรือไม่ (Show Quick Editing on your Blog?)
    แสดงโหมดการแก้ไขบทความบทบล๊อกอย่างรวดเร็ว

    แสดงลิงก์ส่งบทความทางอีเมล (Show Email Post links?)
    เครื่องมือของ Blogger ที่สามารถให้ผู้อ่านส่งบทความในบล๊อกเราให้่แก่ผู้อื่นทาง E-mail

    แสดงโหมดเขียนบทความสำหรับบล็อกทั้งหมดของคุณหรือไม่ (Adult Content?)
    ใช้โหมดการเขียนบทความของบล๊อก เป็นค่าปกติที่ตอบ "ใช่" อยู่แล้วไม่ต้องปรับเปลี่ยน

    ใช้การถอดเสียงหรือไม่ (Enable transliteration?)
    เพิ่มปุ่มที่แถบเครื่องมือสำหรับการแปลงคำจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่เลือก (คุณสามารถเปลี่ยนภาษาได้ภายหลังในเครื่องมือแก้ไขบทความ)
    การแก้ไขการถอดเสียงของคุณจะถูกบันทึกไว้ ในส่วนนี้ให้ปิดการใช้งานไว้เพราะไม่ได้เกี่ยวข้องกับภาษาเรา
    เป็นการตั้งค่าในส่วนของพื้นฐานเช่น หัวข้อ (title) คำอธิบาย (Description) และอื่นๆ ของ Blogger
  2. การเผยแพร่   ในส่วนของการตั้งค่า การเผยแพร่ คือการตั้งค่า  Url  หรือชื่อบล๊อกของเราที่แสดง เช่น www.ชื่อบล๊อก.blogspot.com จะตามหลังด้วย blogspot.com เสมอ เพราะเป็นชื่อ Sub domain ของ Blogger.com เราจะเปลี่ยนได้เฉพาะส่วนของชื่อบล๊อกคือด้านหน้า blogspot.com เท่านั้น หากไม่พอใจ หรือชื่อบล๊อกไม่โดนใจวัยรุ่น ก็สามารถเปลี่ยนได้ืี่ที่ ตั้งค่าการเผยแพร่เลยค่ะ แต่สิ่งที่ตามมาคือชื่อบล๊อกเก่าของเราจะใช้ไม่ได้ ทำให้ผู้ที่เคยรู้จักบล๊อกของเราเข้าไม่ได้ เป็นผลเสียอย่างมากทีเดียวเมื่อทำการโปรโมทบล๊อกของเราไปแล้วๆเปลี่ยนชื่อใหม่ ซึ่งเหมือนการไม่มีตัวตนของชื่อเก่า เหมือนกับการย้ายบ้าน
  3. การจัดรูปแบบ (Formatting Setting) ของบล๊อก เช่นการแสดงบทความในหน้าหลักกี่บทความ รูปแบบส่วนหัวของวันที่ รูปแบบเวลา ภาษา สามารถปรับตั้งค่าได้ที่การจัดรูปแบบเลยค่ะ เรามาดูการตั้งค่าต่างๆที่มีใน เมนูการจัดรูปแบบอย่าละเอียดกันค่ะ ว่ามาอะไรบ้าง


    • แสดง (Show)
      การแสดงบทความในหน้าแรกของบล๊อกเราว่าจะให้มีกี่บทความ และสามารถเลือกเป็นวันก็ได้ ถ้าเลือก วัน จะมีการจำกัดจำนวนไม่เกิน 999 บทความ
    • รูปแบบส่วนหัวของวันที่ (Date Header Format)
      รูปแบบการแสดงเวลาเมื่อสร้างบทความ จะอยู่เหนือชื่อเรื่อง
    • รูปแบบวันที่ของดัชนีคลังบทความ (Archive Index Date Format)
      รูปแบบการแสดงวันที่ของคลังบทความบล๊อก จะอยู่ในส่วนของ Blog Archive
    • รูปแบบเวลา (Timestamp Format)
      รูปแบบเวลาของบล๊อกเรา
    • โซนเวลา (Time Zone)
      รูปแบบเวลาของแต่ละประเทศ ถ้าเนื่อหาบล๊อกคนอ่านเป็นคนไทยก็เลือก (GMT+7.00)กรุงเทพ ถ้าอยู่ต่างประเทศก็ให้เลือกเวลาของประเทศนั้นๆ
    • ภาษา (Language)
      ภาษาของบล๊อกเรา อยู่ที่เนื่อหาเช่นเดียวกับโซนเวลา ว่าเป็นของประเทศอะไร
    • แปลงการขึ้นบรรทัดใหม่ (Convert line breaks)
      เป็นการตั้งค่าปกติของ Blogger ด้านภาษา Html ครับ การขึ้นบรรทัดใหม่หนึ่งครั้งที่ป้อนในเครื่องมือแก้ไขบทความจะถูกแทนที่ด้วยแท็ก [br] ในบล็อกของคุณ และการขึ้นบรรทัดใหม่สองครั้งก็จะถูกแทนที่ด้วยแท็ก br ให้ตั้งไวเป็นใช่ตลอด
    • แสดงฟิลด์ชื่อเรื่อง (Show Title field)
      เป็นการแสดงฟิลด์ชื่อเรื่องของเราก็คือแสดงชื่อเรื่องนั้นเอง
    • แสดงฟิลด์ของลิงก์ (Show Link fields)
      การแสดง Link ให้บทความของเรา
    • เปิดใช้การจัดเรียงแบบลอย (Enable float alignment)
      สามารถจัดเรียงรูปภาพและข้อความแบบลอยได้ โดยใช้แท๊ก div clear:both ให้ตอบใช่ตลอด อย่าไปเปลี่ยนมัน
    • แม่แบบบทความ (Post Template)
      เป็นการร่างบทความไว้ก่อน เวลาจะสร้างบทความจะแสดงแม่แบบในทุกๆครั้งที่สร้าง สามารถเขียนเนื้อหาไว้ก่อนในกรณีที่ใช้เนื้อหาซ้ำกันหลายๆบทความ สามารถเขียนลงในช่องแล้วกดบันทึกได้เลย

  4. การตั้งค่าจัดการความคิดเห็น (Comment) ของ  Blogger  ส่วนนี้เป็นการตั้งค่าการเก็บบทความของ  บล๊อกเรา ซึ่งจะแสดงในหน้าบล๊อกของเรา มีการปรับตั้งค่าที่ง่ายเอามากๆ ใช้เวลาศึกษาแค่แป๊ปเดียวเท่านั้นเองก็สามารถสร้างบล๊อกได้อย่างมืออาชีพแล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่าในส่วนของ "เก็บเข้าคลังบทความ (Archiving Setting)" มีอะไรบ้าง

  5. การจัดการคลังบทความและการแสดงผลของบทความในหน้าบล๊อก ความถี่ของการเก็บเข้าคลังบทความ สามารถเลือกเก็บบทความของเราซึ่่งจะแสดงในหน้าบล๊อกของเรา จะให้แสดงเป็นรายเดือน รายวัน รายสัปดาห์ก็ได้ทั้งนั้น สุดแล้วแต่เพื่อนๆจจะชอบเก็บยังไง ส่วน เปิดใช้หน้าบทความหรือไม่ ถูกตั้งค่าไว้ว่า "ใช้"อยู่แล้ว ไม่ต้องไปปรับเปลี่ยนอะไรให้มากมายเดิมๆแหละดีที่สุดแล้วสำหรับ Blogger อันนี้ก็แล้วแต่ความชอบหรือถนัดว่าจะวางโครงสร้างยังไง 
  6. การตั้งค่าของ Feed (รับข่าวสารผ่าน Rss) ซึ่งเราต้องสมัครใช้กับผู้ให้บริการ Feed เช่น www.feedburner.com ซึ่งเป็นบริษัทของ Google ที่ทำการเซ้งกิจการมา แล้วทางผู้ให้บริการก็จะให้ Url ของ Feed เรามา ประโยชน์ของมันก็คือผู้อ่านสามารถรับข่าวสารต่างๆของบล๊อกเราได้เมื่อเราสร้างบทความใหม่ๆขึ้นมา เรามาดูการตั้งค่าของฟีดกับเลย
    • อนุญาตให้ใช้ฟีดของบล็อก (Allow Blog Feeds)
      เลือก แบบเต็ม เพื่อจัดส่งเนื้อหาของบทความแบบเต็ม เลือก แบบสั้น ถ้าคุณต้องการจัดส่งเนื้อหาเฉพาะย่อหน้าแรก หรือประมาณ 255 ตัวอักษร ขึ้นอยู่กับว่าข้อใดสั้นกว่า การตั้งค่านี้จะใช้กับฟีดแต่ละประเภท (บทความ ความคิดเห็น และฟีดของความคิดเห็นต่อบทความ)
    • URL การเปลี่ยนเส้นทางฟีดข้อมูลของบทความ (Post Feed Redirect URL)
      ชื่อ Url ที่ทางผู้ให้บริการให่เรามาเมื่อเราสมัครใช้บริการแล้ว ให้นำมาใส่ที่นี้เลย
    • ส่วนท้ายฟีดของบทความ (Post Feed Footer)
  7. การส่งบทความผ่าน E-mail และะมือถือ ในส่วนนี้เป็นบริการของ Blogger ใช้สำหรับส่งบทความของเราทาง E-mail และมือถือให้ตาม E-mail และเบอร์โทรศัพท์ เราสามารถใส่ E-mail และเบอร์โทรศัพท์ของผู้ที่ต้องการรับข้อมูลบล๊อกเราได้เลย ในส่วนของการตั้งค่านั้นมีอยู่ไม่กี่อย่าง เราลองไปดูกันได้เลย
    • ที่อยู่ BlogSend (BlogSend Address)
      ในส่วนนี้สามารถ add Email ของผู้สนใจติดตามเรื่องราวต่างๆของบล๊อกเราผ่าน E-mail ได้เลย
    • ที่อยู่สำหรับการส่งบทความผ่านอีเมล (Email Posting Address)
      เป็นชื่อ Sub Email ของเราอีกทีที่ใช้กับ Blogger
    • อุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Devices)
      สามารถเพิ่มเบอร์โทรศัพท์ของผู้ที่สนใจได้
  8. Open ID ในส่วนนี้บ่งบอกให้รู้ว่าเจ้าของ ID บล๊อกนี้ชื่ออะไร URL ที่แสดงเป็นอะไร ไม่จำเป็นต้องไปยุ่งอะไรในส่วนนี้

  9. สิทธิ์ (Permissions) ในส่วนนี้สามารถเพิ่มผู้เขียนและผู้อ่านบล๊อกของเราหรือสมาชิกได้ครับประกอบไปด้วย


    • ผู้เขียนบล็อก (Blog Authors)
      เพิ่มผู้เขียนบล๊อก ผู้ที่ได้รับสิทธิจะสามารถเขียนบทความเผยแพร่ได้อย่างเดียว ไม่สามารถใช้เมนูอื่นๆได้
    • ผู้อ่านบล็อก (Blog Readers)
      เป็นระบบสามาชิกของ Blogger ให้ผู้อ่านได้สมัครสมาชิกได้ สามารถส่งเชิญคนที่ต้องการสมัคร



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น