เคล็ดลับจัดการบล็อก


            ถ้านักเรียนเคยสมัครเมล์ gmail นักเรียนก็จะสามารถใช้ รหัส gmail login ในช่อง ลงชื่อเข้าใช้งานได้เลย (ซึ่งครูเคยให้นักเรียนสมัครไว้แล้วตั้งแต่ตอนต้น)   หรือถ้าไม่เคยสมัคร หรือลืม หรืออยากจะสมัครใหม่ ก็ คลิกคลิกที่ลูกศรสีส้ม สร้างบล็อคของคุณทันที


            ........ที่อยู่อีเมล ใส่เมล์ของตัวเองนะจ๊ะ  เมล์อะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น gmail จ๊ะ ก็ประมาณว่า เมล์ที่เราใช้อยู่นั่นแหละ
            .......ใส่เมล์นั้นอีกครั้งจ๊ะ
            .......กำหนดรหัสผ่าน ตั้งขึ้นมาเลย ไม่ใช่รหัสเมล์นะจ๊ะ เป็นรหัสที่เราตั้งขึ้นเพื่อสมัคร blogger จ้า
            .......ชื่อที่แสดง ก็อย่างที่ในเว็บบล็อก คือ นี่จะแสดงว่าเราเราโพสข้อความอะไรใน blog ของเรา หรือเขียนคอมเม้น แสดงความคิดเห็น blog ของคนอื่น
            .......รหัสยืนยัน ใส่รหัสสุ่มตามภาพที่ขึ้นมา
            .......ทำเครื่องหมายช่องสี่เหลี่ยม ยอมรับข้อตกลง ...จากนั้นคลิก ดำเนินการต่อได้เลยจ้า

...จากข้างบนเป็นรูปแบบเก่า ของ blogger นะจ๊ะ สรุปคือ เราสมัครเข้าบัญชี blogger จ๊ะ
...จากนี้ เรามาดูรูปแบบใหม่ ในการเริ่มเขียน blogger กันดีกว่านะค่ะ  เอ้าลุย..........................


คลิ๊กบล็อกใหม่ เพื่อเริ่มต้นสร้างบล็อกกันได้เลยค่ะ  ถึงเวลาบรรเลงแล้ว


ตั้งชื่อบล็อกได้เลยค่ะ  เราจะสร้างบล็อกอะไร  เกี่ยวกับอะไร เรื่องอะไร ตั้งชื่อได้เลย ชื่อที่เราตั้งก้จะไปปรากฎอยู่ส่วนบนของบล็อก หรือเรียกว่า ไตเติ้ล ก็ได้จ้า  ส่วนที่อยู่บล็อก คือ ที่อยู่ url ของบล็อก  สังเกตว่าถ้าเราตั้งซ้ำกับบล็อกที่มีอยู่แล้วก็จะไม่ได้ จะเป็นเครื่องหมายตกใจ พร้อมกับบอกว่าไม่สามารถใช้ได้ ให้เราตั้งชื่อที่อยู่ใหม่ จนกว่าสามารถใช้ได้ หรือเป็นเครื่องหมายถูกนั้นเอง ต่อมาก็คือการเลือกแม่แบบซึ่งก็แล้วแต่ความชอบ เสร็จแล้วคลิ๊กสร้างบล็อกได้เลยจ้า ที่นี้ละทุกคนก็สามารถมีบล็อกเป็นของตนเองแล้ว ไชโย....

***** ทั้งนี้ ทั้งชื่อบล็อก ที่อยู่บล็อก และรูปแบบ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง ซึ่่ง 1 user ที่เราใช้ สามารถสร้างบล็อกได้ 100 บล็อก จ้า แต่ถ้าอยากสร้างมากกว่านี้ก็สมัครเพิ่มอีกได้จ้า


ภาพด้านบน เป็นการทดสอบการสร้างบล็อก ซึ่่ง รูปดินสอ เราสามารถคลิกเข้าไปเขียนบล็อกแล้วเริ่มโพสต์ได้เลย ส่วนเมนู ดูบล็อก เป็นการดูบล็อกที่เราสร้างขึ้นมา ในที่นี้เน้นที่ เมนูตรงกลางนะจ๊ะ คือเป็นเมนูของการ ตั้งค่า หน้าเวป รูปแบบ แม่แบบ เมื่อเราคลิ๊กเข้าไปก็จะได้หน้าตาแบบนี้ (ด้านล่าง)


ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนนะค่ะ ในการเขียนบล็อก เราจะต้องมีการวางแผนเนื้อหาสาระที่เราเขียน ซึ่งบล็อกสามารถเขียนข้อความต่างๆ แทรกรูปภาพ วิดีโอ หรือนำเสนอต่างๆได้ ซึ่งการเขียนบล็อก ข้อความที่เขียนไปจะเป็นหัวข้อ รวมอยู่ในคลังบทความ ข้อความล่าสุดจะอยู่ที่หน้าบล็อก เราลองมาคลิ๊กดูที่เมนู  ก็จะได้ 

ซึ่งเราสามารถแก้ไขคลังบทความได้ โดยคลิ๊กที่คำว่า แก้ไข ก็จะได้ดังรูปต่อไปนี้จ้า

      การตั้งค่าคลังข้อมูลบล็อก เราสามารถตั้งชื่อ เลือกรูปแบบ ตั้งค่าการแสดงบทความ เลือกรูปแบบการแสดงได้ แล้วแต่เจ้าของบล็อกต้องการ 
      สำหรับบทความต่างๆที่เราจะนำเสนอในบล็อก ข้อความล่าสุดหรือใหม่สุดจะอยู่หน้าแรก เพราะฉนั้นหน้าแรกของบล็อกเปรียบเสมือนห้องรับแขก ซึ่งถ้าออกแบบมาดี ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมก็จะสนใจและติดตามอ่านบล็อกของเราต่อไป แล้วทำไงดีละ ในเมื่อข้อความล่าสุด ใหม่สุดจะอยู่หน้าแรกของบล็อก เราจะทำยังไงในการออกแบบหน้าแรกให้ดึงดูดความสนใจและกำหนดให้เป็นหน้าแรกเสมอ วิธีการง่ายๆ คือในแต่ละบทความเราสามารถแก้ไขได้ เราก็เข้าไปแก้ไขในบทความนั้น แก้ไขตรงวันที่หรือเวลาด้วยก็ได้ ให้เป็นวันที่ล่าสุด เพื่อให้บทความนั้นอยู่หน้าแรกเสมอ(อยู่ล่างๆนะจ๊ะ คลิ๊กที่ตัวเลือกของบทความ แล้วก็จะมีให้เราแก้ไข)
      

ต่อมา เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการโพสต์บทความกันเลยนะค่ะ


หน้าจอของการเขียนบทความ เมนูคำสั่งเครื่องมือต่างๆจะคล้ายกับโปรแกรมออฟฟิตทั่วไป ใช้งานเหมือนกันแต่มีไม่มาก ลองหัดเล่นดูนะค่ะ เล่นบ่อยๆจะได้เก่งไงจ๊ะ
ส่วนในเมนูรูปแบบจะมีส่วนต่างๆให้เราเล่นเยอะมาก ลองเข้าไปเล่นดูนะค่ะ อันไหนที่เราชอบเราก็เก็บไว้หรือเพิ่มมาอีกก็ได้ อันไหนไม่ชอบก็ลบออก และเราสามารถกำหนดตำแหน่งที่เราต้องการได้ด้วยการลากแล้ววางแค่นี้เอง ไม่ยากเลยใช่มั๊ยละ


ต่อไปเรามาดูเมนูหน้าเวปกันดีกว่า ซึ่งหน้าเวปจะช่วยให้เราสามารถออกแบบหน้าต่างแยกออกจากบทความได้ การเขียนหน้าเวป การแค่เพียงคลิ๊กเข้าไปที่คำว่า แก้ไข เราก็สามารถเข้าไปเขียนตกแต่งได้จ้า เหมือนกับการเขียนบล็อกปกตินั้นแหละ  ลองเข้าไปเล่นดูนะจ๊ะ 


เอาละ  ต่อไปก็เป็นการโชว์ฝีมือของบล็อกเกอร์สมัรเล่นแล้วนะ บรรเลงลวดลายกันเต็มเหนี่ยวไปเลย หากต้องการเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยก็ไปศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาฝีมือละก็ลองเข้าถามคุณกูเกิลดู

(ข้อมูลจาก  http://www.makemoney-school.com )





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น